วันพุธที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

คุมกำเนิด



วิธีการคุมกำเนิดแบบต่าง ๆ 

การคุมกำเนิด เป็นการป้องกันไม่ให้เกิดการตั้งครรภ์ ในขณะที่คุณยังไม่พร้อม 

การคุมกำเนิด ทำได้ทั้งผู้ชายและผู้หญิง ส่วนจะเลือกใช้วิธีการคุมกำเนิดวิธีไหน 
ขึ้นอยู่กับความต้องการ เพราะแต่ละวิธีมีข้อดีและข้อด้อยแตกต่างกัน 

ถ้าคุณเป็นผู้ชาย

การใช้ถุงยางอนามัย เหมาะสำหรับการมีเพศสัมพันธ์เป็นครั้งคราว 
การใช้ถุงยางอนามัย มีผลดี ป้องกันการตั้งครรภ์ได้หากคุณใช้ถูกวิธี 
ถุงยางอนามัยหาซื้อได้ง่าย เช่น ตามร้านขายยา ข้อควรระวัง 
ควรเลือกซื้อถุงยางอนามัยที่มีคุณภาพ เพราะถุงยางอนามัยที่เก่า 
อาจจะฉีกขาด หรือรั่ว และควรใช้เพียงครั้งเดียวแล้วทิ้งเลย 


การทำหมันชาย วิธีนี้เป็นการผ่าตัดผูกท่อน้ำเชื้อทั้งสองข้าง 
ป้องกันตัวอสุจิออกมา หลังผ่าตัดแล้วถ้ามีการหลั่งอสุจิประมาณ 10 ครั้ง 
ก็จะเป็นหมันไม่มีบุตรอีก วิธีนี้สะดวก ปลอดภัย และเจ็บตัวเล็กน้อย 
เหมาะสำหรับคุณผู้ชายที่มีบุตรมาแล้ว 2 คน หรือมีบุตรพอแล้ว 
ารทำหมัน ไม่ใช่การตอน คุณจึงมีสมรรถภาพทางเพศเหมือนเดิมทุกอย่าง 

ถ้าคุณเป็นผู้หญิง วิธีคุมกำเนิดได้แก่ 


ยาเม็ดคุมกำเนิด เป็นวิธีการคุมกำเนิดชั่วคราว แต่ได้ผลมากที่สุด 
ยานี้มีผลทำให้ไข่ไม่ตก เป็นยาเม็ดที่ใช้กิน มีลักษณะเป็นแผงๆ ละ 21  และ 28 เม็ด 
ใช้วันละ 1 เม็ด โดยเริ่มทานยาเม็ดแรกในวันที่ 5 หลังมีประจำเดือนจนหมดแผง 
แต่วิธีนี้อาจจะไม่เหมาะกับคนขี้ลืม เพราะถ้าทานยาไม่สม่ำเสมอ อาจจะไม่ได้ผล 
นอกจากนี้ยาอาจจะทำให้เกิดผลข้างเคียงต่อคุณได้ ก่อนใช้จึงควรปรึกษาแพทย์ 

อ่านเพิ่มเติมได้ที่ : http://www.momyweb.com/forums/index.php?topic=180.0/ )

ยาฉีดคุมกำเนิด โดยวิธีการฉีดยาเข้าที่กล้ามเนื้อสะโพก
ไม่เกินวันที่ 5 ของรอบเดือน ฉีดยาครั้งหนึ่งคุมไปได้ 3 เดือน หรือบางชนิดอาจจะคุมได้ 4 เดือน 
คุณจะฉีดชนิดไหนก็ปรึกษาแพทย์เพื่อขอคำแนะนำได้ 


การทำหมันหญิง วิธีนี้เหมาะสำหรับผู้ที่มีบุตรเพียงพอแล้ว 
การทำหมันหญิง คือการผ่าตัดผูกท่อนำไข่ เพื่อป้องกันมิให้ตัวอสุจิเข้าไปผสมกับไข่ที่ปีกมดลูก 
การผ่าตัดอาจจะทำ ระยะคลอดบุตรใหม่ๆ ประมาณ 24 ชั่วโมงหลังคลอด ซึ่งเรียกกันว่า 
ทำหมันเปียก หรืออาจจะทำหลังคลอดแล้วประมาณ 6 สัปดาห์ เรียกว่าหมันแห้ง 
วิธีนี้สะดวก ปลอดภัย มีสมรรถภาพทางเพศเหมือนเดิม และสามารถทำงานได้ตามปกติ 

นอกจากนี้ การใส่ห่วงอนามัย โดยใช้เครื่องมือใส่ห่วงเข้าไปในมดลูก
ให้ห่วงอยู่ในโพรงมดลูก ก็จะช่วยคุมกำเนิดได้ วิธีนี้แพทย์จะเป็นผู้ใส่ให้และไม่มีอันตราย 


การใช้ยาฝังคุมกำเนิด ก็เป็นทางเลือกอีกวิธีหนึ่ง 
โดยการใช้ฮอร์โมนฝังไว้ใต้ผิวหนัง บริเวณต้นแขนด้านใน เป็นการใช้ยาเพียงครั้งเดียว 
แต่ออกฤทธิ์ได้นานและสม่ำเสมอ สะดวก เพราะ คุมกำเนิดได้ถึง 5 ปี เหมาะสมหรับ
ผู้หญิงที่มีบุตรแล้ว 1 คน ต้องการคุมกำเนิดอีก 5 ปี วิธีนี้เหมาะที่สุด 

การนับวัน ก็เป็นวิธีการคุมกำเนิด โดยมีระยะเวลาก่อนมีประจำเดือน 7 วัน 
และหลัง จากเริ่มมีประจำเดือน 7 วัน ถือว่าเป็นระยะที่ปลอดภัยมีเพศสัมพันธ์ได้ 
แต่การนับวันอาจจะมีการผิดพลาดได้ ถ้าคุณมีปัญหารอบเดือนคลาดเคลื่อน 
จึงไม่อยากแนะนำให้ใช้วิธีนี้ 

แต่ไม่ว่าคุณจะสนใจเลือกใช้วิธีไหนในการคุมกำเนิดก็ตาม 
ขอให้ปรึกษาแพทย์ตามโรงพยาบาลทั่วๆ ไป ศูนย์บริการสาธารณสุขใกล้บ้าน 




15 วิธีคุมกำเนิด... ที่คุณเลือกได้ 

          การคุมกำเนิดไม่ใช่หน้าที่ของผู้หญิงฝ่ายเดียว ผู้ชายก็ช่วยคุมกำเนิดได้ ซึ่งมีทั้งวิธีธรรมชาติและอาศัยเทคโนโลยี แต่ก็ต้องคำนึงถึงความปลอดภัยสูงสุดด้วย

          นพ.วิสิทธิ์ สภัครพงษ์กุล กลุ่มงานสูตินรีเวชกรรม โรงพยาบาลราชวิถี ให้ความกระจ่างดังนี้ค่ะ

             1. ถุงยางอนามัย เป็นวิธีคุมกำเนิดที่เก่าแก่ที่สุดและยังเป็นการป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ได้อีกด้วย ทั้งนี้ ความปลอดภัยในการคุมกำเนิดก็ขึ้นอยู่กับวิธีการใช้ กระนั้นก็ตามก็ยังมีคนใช้ผิดวิธี หรือใช้ถุงยางอนามัยที่มีคุณภาพต่ำหรือหมดอายุ ที่พบบ่อยคือการสวมถุงยางอนามัยตอนใกล้จะหลั่งคือไม่ใช้ตั้งแต่ต้น ก็จะเกิดความเสี่ยงในการตั้งครรภ์ได้ เนื่องจากน้ำหล่อลื่นในช่วงแรกก็อาจมีเชื้ออสุจิออกมาแล้ว

             2. ยาคุมกำเนิด มีฮอร์โมนเอสโตรเจนและเจสตาเจน (Gestagen) ฮอร์โมนทั้งสองตัวนี้จะป้องกันไม่ให้ไข่ตกและเปลี่ยนแปลงเยื่อบุโพรงมดลูกให้ไม่เหมาะแก่การฝังตัว ทั้งนี้ ต้องกินยาคุมกำเนิดติดต่อกันทุกวันเป็นเวลา 3 สัปดาห์ และหยุดพักหนึ่งสัปดาห์ที่จะมีประจำเดือนในช่วงนั้น วิธีนี้เป็นวิธีที่ปลอดภัยมากและยังช่วยลดอาการปวดท้องประจำเดือนได้ด้วย แต่อาจทำให้ผู้หญิงที่สูบบุหรี่เกิดโรคโลหิตหรือน้ำเหลืองคั่งได้ ทำให้อารมณ์เพศลดลง และอาจทำให้ผู้หญิงเกิดโรคลิ่มเลือดแข็งตัวในหลอดเลือด (Deep Vein Thrombosis DVT) ซึ่งพบบ่อยในชาวตะวันตก ปัจจุบันเริ่มพบมากขึ้นในประเทศไทยเนื่องจากไลฟ์สไตล์ของผู้หญิงเริ่มเปลี่ยนไปแบบตะวันตก เช่น กินอาหารแบบตะวันตก และออกกำลังกายน้อยลง

             3. ยาคุมกำเนิด Desogestrel และ Levonorgestrel มีเพียงฮอร์โมนเจสตาเจนเท่านั้นที่จะป้องกันไม่ให้ไข่ตกและป้องกันไม่ให้สเปิร์มผ่านเข้าไปในมดลูก ซึ่งเป็นวิธีที่ปลอดภัยมากและยังช่วยลดอาการปวดท้องประจำเดือนด้วย แต่ต้องกินยานี้ทุกวัน ข้อเสียคือ ทำให้มีเลือดออกกะปริดกะปรอยในระยะแรกของการใช้ ส่วนมากจะใช้ในกรณีคลอดบุตรใหม่ๆ และต้องการให้นมบุตรแต่ถ้าเราใช้ยาคุมกำเนิดทั่วๆ ไปที่รวมเจสตาเจนและโปรเจสเตอโรน (ดีในแง่ของการยับยั้งการตกไข่) ก็มีข้อเสียคือทำให้น้ำนมน้อยลง จึงควรใช้ยาคุมกำเนิด Desogestrel ซึ่งมีเจสตาเจนอย่างเดียว คือทั้ง Desogestrel และ Levonorgestrel เป็นกลุ่มเจสตาเจนในระยะแรกจะมีเลือดออกกะปริดกะปรอยสักระยะหนึ่งแล้วก็หาย อาจใช้ในกรณีหลังคลอดบุตรใหม่ๆ และต้องการให้นมบุตร

             4. ยาคุมกำเนิดหลังมีเพศสัมพันธ์ เป็นยาที่มีความแรงของตัวยาและต้องให้แพทย์สั่งในกรณีฉุกเฉิน เช่น มีเพศสัมพันธ์โดยไม่ได้ตั้งใจไม่ได้ป้องกัน หรือมีความเสี่ยงกับการตั้งครรภ์ที่มีไม่พึงปรารถนา ยานี้ต้องกินภายใน 72 ชม. หลังการมีเพศสัมพันธ์ยิ่งกินยาได้เร็วเท่าไหร่ก็จะปลอดภัยมากเท่านั้น วิธีคุมกำเนิดวิธีนี้ไม่ค่อยแนะนำให้ใช้ เพราะเนื่องจากจะมีอากรข้างเคียงมาก อีกทั้งประสิทธิภาพไม่ดีพอ อาการข้างเคียงก็อย่างเช่น ทำให้ตั้งครรภ์นอกมดลูกได้

             5. คุมกำเนิดแบบฉีด 3 เดือน เป็นยาฉีดที่มีฮอร์โมนเจสตาเจน โดยการฉีดเข้ากล้ามเนื้อที่สะโพกหรือต้นแขนมีผลควบคุมไม่ให้ตั้งครรภ์ได้ 3 เดือนมีปลอดภัยในการคุมกำเนิดสูงและช่วยลดอาการปวดท้องระหว่างมีรอบเดือนแต่เป็นยาที่มีฮอร์โมนสูง จึงต้องได้รับการพิจารณาจากแพทย์ ยานี้เมื่อใช้ไประยะหนึ่ง ระยะแรกของการฉีดอาจมีประจำเดือนกะปริดกะปรอย แต่ไม่เป็นอันตราย เมื่อฉีดไปสักระยะ อาจไม่มีประจำเดือนเลย ซึ่งทั้งสองอาการนี้ไม่ได้เป็นอันตรายใดๆ เป็นอาการที่พบได้จากการใช้วิธีนี้

             6. ฝังไว้ที่ผิวหนัง มีลักษณะเป็นแท่งพลาสติก มีขนาดเท่าไม้ขีด มีฮอร์โมนเจสตาเจน โดยใช้การใส่เข้าไปที่ต้นแขนใต้ผิวหนังของผู้หญิง ป้องกันไข่ตกและป้องกันไม่ให้สเปิร์มเข้าไปในรังไข่ หลังจาก 3 ปี ก็ให้แพทย์เอาออก เป็นวิธีที่ปลอดภัยแต่วิธีนี้อาจทำให้มีแผลเป็นเล็กๆ และมีเลือดออกกะปริดกะปรอยในระยะแรกเมื่อใช้ไประยะหนึ่งก็จะหาย

             7. การใส่ห่วง เป็นห่วงที่ทำจากพลาสติกขนาดเล็กและมีขดลวดทองแดงเล็กๆ (Copper-T) พันรอบห่วง ใช้สำหรับคุมกำเนิดอย่างเดียว โดยผู้หญิงจะใส่ห่วงในช่วงมีรอบเดือนเพราะใส่ง่ายมีอายุคุมกำเนิดได้ถึง 5 ปี เป็นห่วงที่มีฮอร์โมนเอสโตรเจนและเจสตาเจนน้อยสามารถคุมกำเนิดได้ 5 ปี และอาจพบแพทย์ระยะแรกเพื่อตรวจห่วง มีจำหน่ายในประเทศเยอรมนีตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2003 ส่วนห่วงอีกชนิดหนึ่งเป็นห่วงที่มีฮอร์โมนเจสตาเจน ใช้ได้ทั้งคุมกำเนิดลดอาการปวดประจำเดือนและอาการประจำเดือนมามาก ที่มีสาเหตุจากความผิดปกติของมดลูกบางชนิด

             8. การวัดฮอร์โมนตกไข่ เป็นวิธีทดสอบปัสสาวะของผู้หญิงโดยการใช้แท่งตรวจจุ่มลงไปในปัสสาวะเพื่อตรวจสอบฮอร์โมนในปัสสาวะและคำนวณวันที่ไข่จะตก แต่เป็นวิธีที่ไม่ค่อยปลอดภัย เพราะวัดเพียงไม่กี่วันของแต่ละเดือน ส่วนใหญ่ใช้ในกรณีต้องการมีบุตรมากกว่า คือรู้วันตกไข่เพื่อมีเพศสัมพันธ์ให้ตรงวัน

             9. การวัดอุณหภูมิ เพื่อความมั่นใจในการคุมกำเนิด จำเป็นต้องหมั่นวัดอุณหภูมิร่างกายทุกวัน ในช่วงเวลาเดียวกันและในตำแหน่งเดิม เพื่อจะได้รู้วันไข่ตกที่แน่นอน เพราะในระยะหนึ่งถึงสองวันหลังไข่ตก อุณหภูมิของร่างกายจะขึ้นสูงมากกว่า 0.2 องศา ซึ่งนั่นก็คือเป็นที่ปลอดภัย ข้อดีก็คือไม่เจ็บปวดและประหยัด ข้อเสียคือ เหมาะสำหรับผู้หญิงมีรอบเดือนสม่ำเสมอและไม่มีไข้เท่านั้น

             10. นับวันจากปฏิทิน เป็นวิธีที่ผู้หญิงต้องมีปฏิทินประจำตัว เป็นวิธีที่ง่ายและสะดวก เหมาะกับผู้หญิงที่มีประจำเดือนสม่ำเสมอ (28 วัน) แต่ช่วงไข่ตกก็ต้องใช้วิธีอื่นคุมกำเนิด โดยเฉลี่ยของการผิดพลาดคือ 9 คนจาก 100 คนที่พลาดจนเกิดการตั้งครรภ์

             11. สังเกตมูกจากปากมดลูก เป็นวิธีคุมกำเนิดอย่างธรรมชาติและเป็นวิธีที่ประหยัด โดยผู้หญิงต้องสังเกตมูกตกขาวจากปากมดลูก (Cervical Mucus) ทุกวันและจดโน้ตไว้เพื่อดูวันที่ไข่ตกและในระหว่างที่มีการตกไข่ก็ต้องคุมกำเนิดด้วยวิธีอื่น แต่อาจคลาดเคลื่อนได้หรือแปลผลผิด เช่น ในกรณีที่มีการติดเชื้อหรืออักเสบของช่องคลอด

             12. วิธีคุมกำเนิดแบบ Sympto Thermal เป็นวิธีคุมกำเนิดอย่างธรรมชาติโดยการผสมผสานระหว่างอุณหภูมิและการสังเกตมูกตกขาววิธีนี้ค่อนข้างปลอดภัยถ้าผู้หญิงหมั่นสังเกตตัวเอง แต่ถ้ามีไข้หรือมีการอักเสบของช่องคลอดก็จะทำให้แปลผลผิดได้และระหว่างวันที่ไข่ตกก็จะต้องคุมกำเนิดด้วยวิธีอื่นร่วมด้วย

             13. Coitus lnterruptus เป็นวิธีที่ฝ่ายชายหลั่งอสุจิข้างนอกหลังการมีเพศสัมพันธ์ แต่สเปิร์มอาจเล็ดลอดออกไปได้ก่อนหน้านั้น จึงไม่แนะนำเพราะไม่ปลอดภัย จากสถิติผู้หญิง 100 คน มีจำนวน 4-18 คนที่ผิดพลาดจนตั้งครรภ์ด้วยวิธีนี้

             14. การทำหมันชาย วิธีนี้ใช้การผ่าตัดเพียงนิดเดียวในผู้ชายเพื่อตัดท่ออสุจิ เหมาะกับผู้ชายที่ไม่ต้องการมีลูกอีก ป้องกันการตั้งครรภ์ได้สูง

             15. การทำหมันหญิง คือกรรมวิธีการตัดบางส่วนหรือแยกท่อนำไข่ออกจากกันทั้ง 2 ข้าง ทำให้ไม่เกิดการปฏิสนธิ การแก้ไขเพื่อให้ท่อนำไข่สู่ภาวะปกติก็ทำได้ แต่ค่อนข้างยุ่งยากเพราะต้องอาศัยการผ่าตัดผ่านกล้องจุลทรรศน์


ข้อแนะนำจาก นพ.วิสิทธิ์ สุภัครพงษ์กุล

          อย่างไรก็ตาม มันก็เป็นข้อมูลเบื้อต้นเพื่อสื่อสารถึงผู้หญิงไทยในการคุมกำเนิดด้วยวิธีใดที่เหมาะสม ควรปรึกษาแพทย์ร่วมด้วยมีโรคประจำตัวอะไรหรือไม่ ตัวเองเหมาะกับไลฟ์สไตล์แบบไหนวิธีคุมกำเนิดต่างๆ มีหลายวิธี หลังจากเราได้ข้อมูลเหล่านี้แล้วจะได้เลือกวิธีที่เหมาะกับไลฟ์สไตล์ เศรษฐกิจสังคมของตัวเอง

          อย่างไรก็ตามก็ควรปรึกษาแพทย์ว่าวิธีคุมกำเนิดนั้นๆ เหมาะสมกับสภาพร่างกายหรือไม่ รวมทั้งระบบรอบเดือนด้วย ที่สำคัญคือการคุมกำเนิดต้องเป็นการร่วมมือระหว่างสามีภรรยามากกว่าการทำเพียงฝ่ายเดียว โดยเฉพาะถ้ายังอยู่ในช่วงวัยที่ไม่พร้อม ดังนั้น ความเข้าใจเรื่องการคุมกำเนิดหรือป้องกันการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ เป็นความรู้ที่ควรมีและต้องนำไปปฏิบัติให้ได้ผล